วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิตอล – Connectivism

ทฤษฎีการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิตอล – Connectivism
ผู้คิดค้น : George Siemens
Connectivism (อ้างจาก: Siemens 2004) หมายถึง การบูรณาการ หลักการสำรวจที่มีความซับซ้อน, เครือข่าย, และความสมบูรณ์ ตลอดทั้ง ทฤษฎีการบริการจัดการตนเองการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน สภาวะแวดล้อมที่คลุมเครือ ของการขยับองค์ประกอบหลัก ไม่ได้หมายความรวมถึงทุกสิ่งนั้นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคน การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ภายนอกบุคคล (แต่ยังอยู่ภายในองค์การ หรือฐานข้อมูล) โดยมีการมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อที่มีความจำเพาะเจาะจง และความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆมีความสำคัญมากกว่าความรู้ที่มีในปัจจุบัน
ปัจจุบันโลกยุคดิจิตอล เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งการกิน การอยู่อาศัยการทำธุรกิจ รวมตลอดถึงการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ทฤษฎีการเรียนรู้จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน อันจะส่งผลต่อการนำความรู้ไปพัฒนาสังคมต่อไปซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ ที่กำลังเป็นที่สนใจมากทฤษฎีหนึ่งนั่นคือ Connectivism เป็นทฤษฎีที่ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิด Learning Theory for digital age. กล่าวคือเป็นการเรียนรู้สำหรับโลกดิจิตอล และจากบทบาทที่สื่อดิจิตอล และอินเทอร์เน็ต มีบทบาทต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ดังนั้นในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษาไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพิจารณาศึกษาถึงทฤษฎีดังกล่าวซึ่งอาจนำมาซึ่งการพัฒนาการเรียนบนโลกดิจิตอลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
หลักการของ Connectivism
หลักการที่สำคัญของ Connectivism ผู้คิดค้น George Siemens ได้กล่าวไว้มีดังต่อไปนี้
1. การเรียนรู้และ ความรู้ คือสิ่งที่หลงเหลือจากการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายในความหมายนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่าความรู้นั้นจะเกิดขึ้นมาได้ต้องอาศัยการแสดงความคิดเห็นของคนที่หลากหลาย คล้ายๆกับการที่เรา Post ข้อความลงบน Facebook ของตนเองจากนั้นก็มีผู้ใช้งานอื่นๆมาแสดงความเห็นต่อท้ายยิ่งแสดงความเห็นมากเท่าใดการเกิดขึ้นของความรู้ก็จะมากขึ้นและเข้มแข็งขึ้นเช่นเดียวกัน
2. การเรียนรู้ คือกระบวนการของการเชื่อมต่อระหว่าง โหนด (Node) อย่างจำเพาะเจาะจง หรือแหล่งข้อมูลสำคัญ ในความหมายนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า ผู้คิดค้นทฤษฎีกำลังอธิบายสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้โดยเกิดขึ้นจากการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างโหนดที่กระจัดกระจายอย่างสับสนวุ่นวาย เมื่อเรามองเห็นความสัมพันธ์ การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นทันที
3. การเรียนรู้ อาจเกิดขึ้นในสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ได้ ตัวอย่างเทียบเคียง อาทิเช่น ในหุ่นยนต์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4. ความสามารถในการรับข้อมูลเพิ่มเติม มีความสำคัญกว่าข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันตรงนี้ผู้เขียนคิดว่าน่าจะหมายถึงทักษะของตัวผู้เรียนที่ต้องมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม อาจเป็นทักษะการใช้งาน Google Search Engine ทักษะการค้นหาหนังสือเล่มที่ต้องการ ทักษะการค้นหาสถานที่เพื่อการเรียนรู้ที่ต้องการทักษะการคัดเลือกงานสัมมนาที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของตนเอง เป็นต้น
5. บำรุงรักษาและการเชื่อมต่อเป็นสิ่งจำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในที่นี้หมายถึง การหมั่นบำรุงรักษาการเชื่อมต่อของโหนด อาทิ การหมั่นมองความสัมพันธ์และการถกเถียงในประเด็นต่างๆของโหนดจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มเกลียวเชือกแห่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
6. ความสามารถในการดูและสังเกตการณ์เชื่อมต่อของข้อมูล ถือเป็นทักษะหลักการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างเกลียวเชือก เป็นทักษะสำคัญให้เกิดการเรียนรู้
7. ความสามารถในการรับทราบข้อมูลในปัจจุบันทันสมัย เป็นสิ่งสำคัญ
8. การตัดสินใจด้วยตนเองเป็นกระบวนการเรียนรู้เลือกสิ่งที่จะเรียนรู้และความหมายของข้อมูลที่เข้ามาจะเห็นผ่านเลนส์ของจริงผลัดเปลี่ยน ในขณะที่มีคำตอบตอนนี้อาจเป็นวันพรุ่งนี้ผิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมในข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ทฤษฎีนี้อธิบายการเรียนรู้ว่า สมมุติในโลกใบนี้เต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบของข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือแม้แต่อารมณ์ เราถือให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นโหนด (node) ต่างๆ กระจัดกระจายทั่วไป โหนดเหล่านี้อาจมีการเชื่อมโยงกัน (connection) อยู่ ซึ่งอาจจะมีการเชื่อมโยงที่ทั้งแข็งแรง หรือเบาบาง และบางอย่างอาจสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ ได้อีกมหาศาล การเรียนรู้คือการที่เราเห็นการเชื่อมโยงเหล่านี้ว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไรอย่างไร รวมไปถึงการสังเกตเห็นถึงรูปแบบ (patterns) ของการเชื่อมโยงต่างๆ จนทำให้เกิดความรู้ (knowledge)

ทฤษฎีนี้มีสโลแกนเก๋ ๆ ที่ George Siemens และ Stephen Downes ตั้งไว้ว่า “a learning theory for the digital age.”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น